วันจันทร์ที่ 24 มกราคม พ.ศ. 2554

เขตการค้าเสรีอาเซียน(AFTA)

    เขดการค้าเสรีเอเซียน หรือ AFTA(Asian Free Trade Area) เป็นข้อตกลงที่ทำขึ้นเมื่อปี พ.ศ.2535 เป็นการตกลงว่าด้วยอัตราภาษีที่เท่ากัน โดยวัตถุประสงค์เพื่อเสริมสร้างความสามารถในการแข่งขันให้กับสินค้าอาเซียนในตลาดโลก โดยสมาชิกจะต้องลดภาษีสินค้าทุกรายการเหลือ 0-5% ภายในปี พ.ศ.2553 จากนั้นก็ต้องยกเลิกเครื่องกีดขวางทางการค้าที่ไม่ใช่ภาษีออกให้หมด เช่น การจำกัดโควต้าการนำเข้า เป็นต้น ข้อตกลงนี้จะครอบคลุมสินค้าทุกชนิด ยกเว้นสินค้าที่มี
ผลกระทบต่อความมั่นคง ศีลธรรม ชีวิตและศิลปะ สมาชิกประกอบด้วยประเทศในอาเซียนทั้งหมด

     ผลกระทบของ AFTA ประเทศไทย
  •  ผลกระทบต่อผู้ประกอบการไทย อุตสาหกรรมที่ได้ประโยชน์อย่างยิ่งคือ อุตสาหกรรมยานยนต์และชิ้นส่วน อิเล็กทรอนิกส์ ได้ประโยชน์จากการใช้วัตถุดิบในอาเซียน การแบ่งงานกันผลิตชิ้นส่วนที่แต่ละประเทศสมาชิกมีความได้เปรียบจะส่งผลให้อุตสาหกรรมของไทยสามารถพัฒนาตัวเองเป็นศุนย์กลางการผลิตในภูมิภาคเอเซียตะวันออกเฉียงใต้
  •  ผลกระทบต่อเกษตรกรและสินค้าเกษตรของไทย ประเทศไทยได้ทำข้อตกลงในการเปิดเสรีทางการค้าในสินค้าเกษตร ซึ่งมีสินค้าผูกพันตามข้อตกลงจำนวน 23 รายการ และทำให้การผลิตสินค้าทางการเกษตรเป็นเชิงพานิชย์ มีการลงทุนโดยกลุ่มทุนการเกษตรคราวละมากๆ แต่เกษตรกรไทยขาดเทคโนโลยีทางการเกษตรที่จะช่วยพัฒนาผลผลิต ทำให้เกษตรกรไทยไม่พร้อมที่จะแข่งขันในตลาดต่างประเทศ
  •  ผลกระทบต่อผู้บริโภค  ผู้บริโภคจะซื้อสินค้าราคาถูกได้ในระยะแรก แต่เมื่อเกษตรกรรายย่อยหายไปก็จะเกิดการผูกขาดทำให้สินค้ามีราคาแพงขึ้น ผู้บริโภคจะต้องซื้อสินค้าและอาหารราคาแพงตลอดไป

     การเปิดเสรีการค้าอาเซียน(AFTA) มีทั้งประโยชน์และอุปสรรคคนไทยในทุกภาคส่วนทั้งในฐานะผู้ผลิต ผู้ขาย ผู้ให้บริการ และผู้บริโภค โดยเฉพาะอย่างยิ่งในภาคการเกษตรและการท่องเที่ยว ผู้ที่เกี่ยวข้องควรศึกษารายละเอียดและข้อตกลงต่างๆเพื่อเตรียมตัวรับมือแลแก้ปัญหาที่กำลังจะเกิดขึ้น รวมทั้งค้นหาโอกาสที่จะมาถึง ดีกว่าจะมานั่งวิจารณ์หรือวิตกกังวลกันจนเกินไป
                                                              

รูปภาพจาก  http://www.thaigoodview.com/node/72505